ประเด็นท้าทาย

แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน PA

ข้อตกลงในการพัฒนางาน PA1 66 (ฉบับล่าสุด).pdf

1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้ 

     นักเรียนบางคนขาดทักษะการพูดในการเรียนวิชาภาษาจีน รวมทั้งไม่สามารถนำความรู้ที่เรียนไปประยุกต์ใช้ได้ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ดังนั้นครูผู้สอนจึงได้ปรับประยุกต์การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดการเรียนรายวิชาภาษาจีน เรื่อง ทักษะการพูดเพื่อบอกกิจวัตรประจำวันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/6   

 2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล 

        2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2561) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนโรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” พุทธศักราช 2563 

  2.2 สังเกตนักเรียนว่ามีการพัฒนาทักษะด้านการพูด สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ โดยสังเกตพฤติกรรมการตอบคำถาม การมีส่วนร่วมกับผู้อื่น การแสดงออกทาง ความคิดของผู้เรียนและประเมินผลผู้เรียนโดยใช้การสังเกต การทดสอบ ผู้สอนประเมินแผนการจัด การเรียนรู้ว่ารูปแบบการสอนมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหนและมีการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยใช้กระบวนการ Five Steps For Student Development หรือกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน 5 STEPs ซึ่งเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการตั้งคำถาม แสวงหาคำตอบ สร้างความรู้ การสื่อสารและการตอบแทนสังคม

กระบวนการ Five Steps For Student Development ังนี้

          ให้นักเรียนฝึกสังเกตคำศัพท์ โครงสร้างประโยคและสถานการณ์ต่างๆ จนเกิดความสงสัย จากนั้นให้นักเรียนตั้งคำถามสำคัญ รวมทั้งการคาดคะเนคำตอบด้วยการสืบค้นความรู้จากชุดการเรียนรู้รวมถึงแหล่งการเรียนรู้อื่นๆ และสรุปคำตอบชั่วคราว 

2. Search ขั้นการสืบค้นความรู้และสารสนเทศ

            ให้นักเรียนออกแบบหรือวางแผนเพื่อรวบรวมข้อมูล สารสนเทศ จากแหล่งเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนการสร้างความรู้

3. Construct ขั้นการสร้างความรู้

          ให้นักเรียนมีการคิดและค้นหาคำตอบเกี่ยวกับคำศัพท์ (生词), บทสนทนา (课文), ไวยากรณ์ (语法) รวมถึงการสื่อความหมายข้อมูลด้วยแบบต่างๆ จนเกิดเป็นการสร้างองค์ความรู้ 

4. Communicat ขั้นการสื่อสารและนำเสนอ

       ให้นักเรียนเสนอความรู้ด้วยการใช้ภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจนและถูกต้องตามหลักไวยากรณ์

5. Serve ขั้นการบริการสังคมและมีจิตสาธารณะ

              ให้นักเรียนนำความรู้ที่เข้าใจ นำการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์เพื่อส่วนรวม หรือเห็นต่อประโยชน์ส่วนรวมด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม ร่วมสร้างผลงานที่ได้จากการแก้ปัญหาสังคมอย่างสร้างสรรค์ต่อไป

      2.3 ให้คุณครูและเพื่อนนักเรียนช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา กิจกรรมและแบบฝึกหัด พร้อมทั้งเสนอแนะเพื่อปรับปรุง แก้ไข 

   2.4 ครูผู้สอนนำชุดการเรียนมาปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำของคณะผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” แล้วนำไปประยุกต์ใช้กับผู้เรียน